กิจกรรมการเพนท์ปฎิทิน
อุปกรณ์
- ผ้าดิบฟอกขาว
- สี ( สีพิมพ์ผ้า ) ( สีจม )
- เฟรม , ยางปาด / ไม้ปาดสี
- แม่พิมพ์
การตกแต่งปฎิทิน
- การวาดภาพระบายสี ( ใช้สีพลาสติก , สีทาบ้าน )
ลักษณะพิเศษ มีส่วนผสมที่สำคัญ สาร PVA ( Polyvinyl Alcohol )
PVA มีข้อดีคือ ล้างหรือผสมน้ำได้ขณะที่เปียกแต่เมื่อแห้งแล้ว
จะไม่สามารถซักล้างได้ จึงเหมาะที่นำมาใช้ในสื่อการเรียนการสอน
เทคนิคการระบายสีน้ำพลาสติก
แบ่งสีออกเป็น 2 โทน
โดยผสมสีลงบนจานสีเป็นชุดๆดังนี้
1. สีโทนร้อน
2. สีโทนเย็น
การระบายอ่อนแก่ (Graded wash) เทคนิค นี้จะนำไปใช้ ในการระบายเพื่อให้เกิดแสงเงา ความลึก ความกลม สีแก่มาหาสีอ่อน เป็นต้น วิธีการ คือ ตั้งกระดาษในองศาเดียวกับวิธีแรก ผสมสีกับน้ำให้ข้นกว่าปกติ แล้วใช้วีธีระบายเรียบแบบธรรมดา เสร็จแล้วให้นำพู่กันไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วจุ่มน้ำสะอาด มาระบายใต้คราบ โดยระบายไปเรื่อย ๆ จนสีเดิมค่อย ๆ จางลง ๆ เป็นลำดับ
เทคนิคการระบายสีน้ำแบบเปียกปนเปียก
การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง
การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป
การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก
เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระการระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียก คือ
วิธีระบายเทคนิคการไหลซึม | |
1. เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี
น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
2. วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น 15
องศา แล้วใช้พู่กันขนาดใหญ่ จุ่มน้ำระบายบนกระดาษวาดเขียน
จากนั้นจึงใช้พู่กันจุ่มสี แล้วระบายลงไป ขณะที่กระดาษยังเปียกน้ำอยู่
เมื่อระบายสีแรกจนพอใจแล้ว ล้างพู่กัน
จุ่มสีอื่นระบายใกล้กับสีแรกเปลี่ยนสีอื่นและระบายอย่างเดียวกัน ประมาณ 4
– 5 สี
3. ขณะที่ระบายควรสังเกตดูการไหลซึมของสีที่ระบายนั้น
จะพบว่าบางสีมีลักษณะรุกรานสีอื่น และบางสีก็ไม่รุกรานสีอื่น
ควรจดจำสีที่รุกรานและไม่รุกรานไว้
4. ลองระบายตามวิธีนี้อีก
แต่คราวนี้กำหนดให้แน่ว่าจะใช้กลุ่มสีอุ่น หรือกลุ่มสีเย็น ( Cool or
Warm Tone ) แล้วสังเกตความไหลซึมของสี
|